ทำอย่างไร เมื่อผู้สูงอายุ “กลั้นปัสสาวะ” ไม่อยู่

ทำอย่างไร เมื่อผู้สูงอายุ “กลั้นปัสสาวะ” ไม่อยู่

           ผู้สูงวัยอาจพบภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะเริ่มหย่อนสมรรถภาพตามวัย ทำให้มีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ จะเห็นว่าอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจส่งผลให้สูญเสียโอกาสบางอย่างในชีวิต เช่น ไม่สามารถเดินทางไปสถานที่ไกลๆได้ เพราะมีข้อจำกัดด้านห้องน้ำ อาจนอนหลับไม่สนิทเพราะกังวลเรื่องการปัสสาวะ และอาจส่งผลให้กลายเป็นคนไม่ชอบออกไปข้างนอก และไม่กล้าเข้าสังคมไปในที่สุด

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน คืออะไร?

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีรูปร่างเป็นแผ่นบางๆ คอยยึดอวัยวะ เช่น มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและมีหน้าที่อั้นปัสสาวะ

วิธีบรรเทาอาการและป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

รศ. นพ.อภิรักษ์ สันติงามกุล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แนะนำวิธีบรรเทาอาการ และป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
เอาไว้ดังนี้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อทำให้ระบบขับถ่ายปัสสาวะทำงานได้อย่างปกติดังนี้

1. บริหารกล้ามเนื้อหูรูด โดยฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูดครั้งละประมาณ 5 วินาที และหยุดขมิบ 10 วินาที ทำซ้ำ ๆ ในช่วงเช้า กลางวัน และเย็นทุก ๆ วัน และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ

2. ฝึกควบคุมการขับถ่าย ให้ยืดระยะเวลาในการเข้าห้องน้ำให้นานออกไป โดยการกลั้นปัสสาวะให้นานขึ้นก่อนถ่ายปัสสาวะ

3. ไม่ควรปัสสาวะรุนแรง และควรปัสสาวะให้หมด

4. หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่

5. ดื่มน้ำ 30 – 50 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น หากมีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 2 ลิตร ซึ่งการดื่มน้ำไม่ดื่มในปริมาณมากครั้งเดียวจนหมด

การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

  1. นั่งเก้าอี้ในท่าที่รู้สึกสบาย ยกมือทั้งสองข้างระดับหน้าอกและกำลูกบอลไว้ในมือ
  2. เกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานพร้อมบีบลูกบอลไว้ 10 วินาที
  3. เมื่อครบ 10 วินาที ให้ผ่อนคลายจากท่าเกร็ง และคลายมือจากการบีบลูกบอลพร้อมนับ 10 วินาที นับเป็น 2 ครั้ง
  4. ทำท่าบริหารนี้ 60 ครั้งต่อวัน สามารถแบ่งทำได้ 3 ช่วงเวลา เช่น เช้า กลางวัน และเย็น ช่วงเวลาละ 20 ครั้ง

คำแนะนำจากแพทย์

ผู้สูงอายุควรฝึกการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทุกวัน เพราะสามารถช่วยลดอาการปัสสาวะเล็ดได้ แต่หากมีอาการที่รุนแรงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาร่วมกับวิธีอื่นๆ

 

ที่มา

1. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/931
2. http://med.swu.ac.th/research/images/Vol22Num1/7.pdf
3. https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/452021
4. www.nakornthon.com/article/detail/ทำไมผู้สูงอายุกลั้นปัสสาวะไม่อยู่-ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
5. https://www.postsod.com/water-intoxication
6. https://today.line.me/th/v2/article/Kve5qR
7. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%
b0%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%
b1%e0%b8%aa%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%
a1%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b9/
8. https://www.exta.co.th/en/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8
%A5%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA
%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%
B8%94%E0%B9%89/